เกร็ดความรู้คู่ขนมไทย
1. ขนมน้ำกะทิ
การทำน้ำกะทิสำหรับใส่ขนมทำได้ 2 อย่าง คือ ใช้น้ำตาลทรายกับน้ำตาลปึกการทำน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลทรายจะต้องเชื่อมน้ำตาลและกรองเสียก่อนและควรใช้มะพร้าวขูดที่ปอกผิวแล้วเพราะจะทำให้ได้น้ำกะทิขาวน่ารับประทานน้ำที่ใช้คั้นกะทิก็ควรเป็นน้ำแช่ดอกไม้แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าดอกไม้ที่นำมาแช่นั้นปลอดภัยจากสารฆ่าแมลงเพื่อให้น้ำกะทิหอม
ส่วนการทำน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปีบ ไม่ต้องเชื่อมน้ำตาลก่อนเพราะว่าน้ำตาลปึกละลายง่ายอยู่แล้ว ใช้น้ำตาลผสมกับน้ำกะทิได้เลยแล้วจึงกรองเศษผงออกทีหลัง (โดยใช้ผ้าขาวบาง)
การผสมน้ำกะทิอย่าให้หวานหรือมันมากเกินไปเพราะจะทำให้ไม่อร่อยในส่วนของรสหวานนั้นควรเผื่อน้ำแข็งละลายด้วย น้ำกะทิไม่ควรแช่เย็น (ตู้เย็น)ความเย็นจะทำให้กะทิเป็นไข ถ้าต้องการรับประทานเย็นๆให้ใส่น้ำแข็งทุบจะดี
ส่วนการทำน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปีบ ไม่ต้องเชื่อมน้ำตาลก่อนเพราะว่าน้ำตาลปึกละลายง่ายอยู่แล้ว ใช้น้ำตาลผสมกับน้ำกะทิได้เลยแล้วจึงกรองเศษผงออกทีหลัง (โดยใช้ผ้าขาวบาง)
การผสมน้ำกะทิอย่าให้หวานหรือมันมากเกินไปเพราะจะทำให้ไม่อร่อยในส่วนของรสหวานนั้นควรเผื่อน้ำแข็งละลายด้วย น้ำกะทิไม่ควรแช่เย็น (ตู้เย็น)ความเย็นจะทำให้กะทิเป็นไข ถ้าต้องการรับประทานเย็นๆให้ใส่น้ำแข็งทุบจะดี
ขนมรวมมิตรน้ำกะทิ
ขนมครองแครงน้ำกะทิ
2. ขนมน้ำเชื่อม
ขนมน้ำเชื่อมส่วนใหญ่จะเป็นพวกผลไม้ผลไม้ลอยแก้วต่างๆ ซึ่งจะใช้ผลไม้ 1 ส่วนต่อน้ำเชื่อม 2 ส่วนจะรับประทานร้อนๆ แช่เย็นหรือใส่น้ำแข็งทุบก็แล้วแต่ชนิดของผลไม้ รสของผลไม้ เช่นถ้าผลไม้มีรสเปรี้ยวรับประทานร้อนๆ ก็ไม่อร่อย
การทำน้ำเชื่อมใช้น้ำตาลทราย 1 ถ้วย ต่อน้ำ 1 1/2 ถ้วย ตั้งไฟเคี่ยวให้น้ำตาลทรายละลายหมด แล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนตาถี่ๆ พักไว้ พอน้ำเชื่อมเย็นจึงเก็บใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท ใช้ผสมกับขนมน้ำเชื่อมจะทำให้รสอร่อยกว่าใช้น้ำตาลที่ไม่ได้เชื่อม
การทำน้ำเชื่อมใช้น้ำตาลทราย 1 ถ้วย ต่อน้ำ 1 1/2 ถ้วย ตั้งไฟเคี่ยวให้น้ำตาลทรายละลายหมด แล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนตาถี่ๆ พักไว้ พอน้ำเชื่อมเย็นจึงเก็บใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท ใช้ผสมกับขนมน้ำเชื่อมจะทำให้รสอร่อยกว่าใช้น้ำตาลที่ไม่ได้เชื่อม
ขนมลูกตาลเชื่อม
ขนมกล้วยไข่เชื่อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น